4 เหตุผลสำคัญที่ธนาคารปฏิเสธสินเชื่อบ้าน

0000-00-00

       ในขณะที่กำลังวาดฝันวางแผนจะซื้อบ้านสักหลัง กลับต้องพังครืนลงมาเพราะ "ธนาคารไม่อนุมัติ" หลายคนจึงมองว่า ขั้นตอนการติดต่อธนาคารนี่แหละ เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด ซึ่ง บอกได้เลยว่าไม่เสมอไป เพราะหากคุณมีการเตรียมตัวที่ดี ศึกษาข้อมูลมากพอ วันนี้ จะมาบอก 4 เหตุผลที่ธนาคารจะปฏิเสธสินเชื่อบ้านเรา ใครที่กำลังมีแผนว่าจะซื้อบ้าน ระวัง 4 สิ่งต่อไปนี้



ในการพิจารณาสินเชื่อนั้น ธนาคารจะมีการพิจารณาจากการให้ข้อมูลของลูกค้า ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อายุงาน อาชีพ ที่มารายได้ ฯลฯ ปัจจุบันธนาคารนำข้อมูลแต่ละปัจจัยมาประมวลจากข้อมูลปัจจัยของลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งจะนำผลทั้งลูกค้าที่ดีและลูกค้าที่มีหนี้มาประมวลว่าข้อใดมีความเสี่ยงมากน้อยเท่าไร โดยเรียกว่า “Credit Scoring” ซึ่งถ้าลูกค้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกปฏิเสธสินเชื่อ ประกอบด้วย




  1. ผู้กู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ช่างรับเหมา ช่างตกแต่งภายใน เหตุที่ผู้ประกอบอาชีพประเภทนี้ธนาคารปฏิเสธการกู้ได้ง่าย เพราะว่าผู้ประกอบอาชีพอิสระเหล่านี้ส่วนใหญ่ ไม่มีเอกสารแสดงที่มาของรายได้ รายจ่าย ไม่ทำบัญชีแสดงรายได้และรายในแต่ละวัน แต่ละเดือนว่ามีจำนวนเท่าไหร่ อีกทั้งไม่เคยยื่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อกรมสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ธนาคารไม่เห็นแหล่งที่มาของรายได้ ว่ามาจากที่ใด จำนวนเท่าใดต่อเดือน ต่อปี  จึงทำให้ธนาคารปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อได้ง่าย

  2. มีรายจ่ายพอ ๆ กับรายได้ ไม่ว่าผู้กู้จะทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัท หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือประกอบอาชีพอิสระก็ตาม หากท่านมีรายจ่ายไม่ว่าจะเป็น ค่าผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หรือภาระอื่น ๆ อีกหลายรายการอยู่แล้ว และอยากจะผ่อนบ้านเพิ่มอีก เช่น ถ้าท่านมีเงินเดือนประจำอยู่ที่ 15,000 บาท มีรายได้อื่น ๆ อีก เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าวิชาชีพอีก 10,000 บาท รวมเป็น 25,000 บาท แต่ท่านมีภาระหนี้ผ่อนรถยนต์ 1 คัน ผ่อนเดือนละ 9,000 บาท ผ่อนชำระบัตรเครดิต 2 ใบ เดือนละ 5,000 บาท ผ่อนสินเชื่อบุคคลอีก 1 รายการ เดือนละ 2,500 บาท รวมรายจ่ายต่อเดือนจำนวน 16,500 บาท เมื่อนำรายจ่ายต่อเดือนมาหักจากรายได้แล้ว ท่านยังมีรายได้เหลืออยู่เพียง 8,500 บาท เช่นนี้อาจทำให้ธนาคารปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อได้ เพราะเมื่อรวมรายจ่ายกับที่ท่านจะผ่อนชำระค่าบ้านกับธนาคารแล้ว ทำให้รายได้ของท่านไม่เพียงพอ หรือเพียงพอแต่ท่านจะไม่มีรายได้เหลือสำหรับการครองชีพอยู่ในแต่ละเดือนธนาคารก็จะปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้กับท่านเช่นเดียวกัน

  3.  ประวัติการชำระหนี้ไม่ดี ตามตัวอย่างในข้อ 2 ไม่ว่าผู้กู้จะทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัท หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือประกอบอาชีพอิสระก็ตาม หากท่านมีรายจ่ายไม่ว่าจะเป็น ค่าผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล อีก เช่น ถ้าท่านมีเงินเดือนประจำอยู่ที่ 15,000 บาท มีรายได้อื่น ๆ อีก เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าวิชาชีพอีก 10,000 บาท รวมเป็น 25,000 บาท แต่ท่านมีภาระหนี้ผ่อนผ่อนสินเชื่อบุคคล 1 รายการ เดือนละ 2,500 บาท ธนาคารกำหนดให้ท่านผ่อนภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน แต่ปรากฏว่าท่านวันที่ 20 บ้าง วันที่ 30 บ้าง หรือบางครั้งก็ไปชำระในเดือนถัดไป อย่างนี้ธนาคารจะมองว่าท่านไม่มีวินัยในการชำระหนี้ ธนาคารก็อาจปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อเช่นกัน

  4. ผู้กู้มีประวัติการค้างชำระหนี้หรือเรียกว่า ผู้กู้ติดเครดิตบูโร ผู้กู้หลายคนไม่ว่าจะทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัท หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือประกอบอาชีพอิสระก็ตาม มีรายได้เพียงที่จะกู้เงินได้จำนวนมาก บางคนมีรายได้เดือนละ 30,000 -100,000 บาท แต่ปรากฏว่าเคยติดหนี้ค้างชำระบัตรเครดิตหรือการผ่อนชำระต่าง ๆ ซึ่งค้างชำระกว่า 90 วัน หรือมากกว่านั้นธนาคารก็จะถูกจัดให้เป็นบุคคลติดเครดิตบูโร ซึ่งเมื่อคุณไปยื่นขอสินเชื่อเพื่อกู้บ้านใหม่อีกครั้ง ธนาคารก็จะเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตจากบริษัท หากพบว่าคุณเคยมีประวัติการชำระที่ไม่ดีมาก่อน การขอสินเสื่อครั้งนี้มีสิทธิ์ที่จะโดนปฏิเสธสูงมาก ถึงแม้ว่าเราจะมีรายได้หลักหมืนหรือหลักแสนก็ตาม

    เรียบเรียงโดย นายอธิวัฒน์ ช่อผูก


Coppyright by www.homedd.co.th
โทรศัพท์ 0-2395-2045 โทรสาร 0-2702-8495
เลขที่ 43 ชั้น 1 ถนนศรีสมุทร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองฯ สมุทรปราการ 10270